ติดตามข้อมูลข่าวสาร อบจ.น่าน ได้ที่ เพจองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน เว็บไซต์ อบจ.น่าน www.nanpao.go.th  
 
 
 
 
 ประวัติจังหวัด
 ที่ตั้งและอาณาเขต
 การเดินทาง
 ต้นไม้และดอกไม้ประจำจังหวัด
 เทศกาลและประเพณีจังหวัด
 ที่พัก ร้านอาหาร
 แหล่งท่องเที่ยว
 ข้อมูลคลังปัญญาจังหวัดน่าน
 
 
 
 ประวัติความเป็นมา
 วิสัยทัศน์ อบจ.
 ตราสัญลักษณ์
 ข้อบัญญัติ อบจ.น่าน
 
 โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการของ อบจ.น่าน
  คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน
  สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน
  สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด
  กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ
  กองช่าง
  กองการเจ้าหน้าที่
  กองสาธารณสุข
  กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
  กองคลัง
  กองพัสดุและทรัพย์สิน
  สำนักเลขานุการองค์การบริหารส่วนจังหวัด
  หน่วยตรวจสอบภายใน
 
อำนาจหน้าที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน
สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด
สำนักงานเลขานุการ อบจ.
กองคลัง
กองช่าง
กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ
กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
กองพัสดุและทรัพย์สิน
กองการเจ้าหน้าที่
กองสาธารณสุข
หน่วยตรวจสอบภายใน
 
 
  แผนยุทธศาสตร์
  แผนพัฒนาท้องถิ่น
  แผนการขับเคลื่อนหน่วยงาน
  แผนดำเนินงานประจำปี
  รายงานการกำกับติดตามการดำเนินงาน รอบ 6 เดือน
  รายงานผลการดำเนินงานประจำปี
  รายงานประจำปี
 
  พ.ร.บ./พ.ร.ก.
  กฎกระทรวง/ระเบียบฯ
  ระเบียบกฏหมายอื่นๆ
 กฎกระทรวง ตาม พร.บ.อบจ. พ.ศ. 2540
 พ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด
 พระราชบัญญัติกระจายอำนาจ
 ประกาศคณะกรรมการกระจายอำนาจ
 พ.ร.บ.อบจ. พ.ศ. 2540
 ระเบียบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน
 
 
แบบสอบถามความพึงพอใจ
อบจ.น่าน
 

 
 
 
 
แบบสำรวจความคิดเห็น
ท่านต้องการให้ อบจ.พัฒนาในส่วนใดมากที่สุด
ด้านการคมนาคม
ด้านการประชาสัมพันธ์ข้อมูล
ด้านการส่งเสริมอาชีพ
ด้านระบบสาธารณูปโภค
 
 
 
  44.220.255.141    
 
 
ประวัติความเป็นมา
_______________________________________________________________________________________________________
ประวัติความเป็นมา
 

ประวัติความเป็นมา อบจ.น่าน

ประเทศไทยได้ใช้แนวคิดในการจัดระเบียบการบริหารการแผ่นดิน รวม 3 หลักการได้แก่ หลักการรวมอำนาจ (Centralization) หลักการแบ่งอำนาจ (Deconcentration) และหลักการกระจายอำนาจ (Decentralization) จากหลักการดังกล่าวทำให้มีการจัดระเบียบ บริหารราชการแผ่นดิน ออกเป็น 3 ส่วน คือ ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ประกอบด้วย สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง และกรม ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย จังหวัด และอำเภอ ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์กร บริหารส่วนตำบล เมืองพัทยา และกรุงเทพมหานคร

องค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นราชการส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่งมีพัฒนาการความเป็นมา ภายใต้กระแสการเมืองและการกำกับดูแลของกระทรวงมหาดไทย เริ่มต้นแต่ได้มีพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 ในกฎหมายดังกล่าวได้มีการจัดตั้ง "สภาจังหวัด" โดยกำหนดให้ประชาชน เลือกตั้งผู้แทนของตนเข้าไปเป็นสมาชิกสภาจังหวัด ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาข้าหลวงประจำจังหวัด (ผู้ว่าราชการจังหวัด) ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติสภาจังหวัด พ.ศ. 2481 แยกออกมาจากกฎหมายเทศบาลมีหน้าที่เป็น“สภาที่ปรึกษาผู้ว่าราชการจังหวัด” เช่นเดิม ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วปรากฏว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดก็มิได้ปรึกษาหารือสภาจังหวัดแต่ประการใดจนกระทั่งได้มีพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ. 2498 ให้มีการจัดตั้ง “องค์การบริหารส่วนจังหวัด” ขึ้น มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการส่วนท้องถิ่น มีอำนาจหน้าที่ดำเนิน กิจการส่วนจังหวัดภายในเขต จังหวัด ซึ่งอยู่นอกเขตเทศบาล สุขาภิบาล และหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นรูปอื่น โครงสร้างขององค์การบริหารส่วนจังหวัดแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ  ฝ่ายบริหาร มีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารมีหน้าที่บริหารกิจการ ส่วนจังหวัด ตั้งงบประมาณและใช้จ่ายงบประมาณ ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการส่วนจังหวัด มีปลัดจังหวัดเป็น ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีนายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ เป็นหัวหน้า ส่วนอำเภอหรือหัวหน้าส่วนกิ่งอำเภอ เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่อยู่ในส่วนอำเภอหรือ ส่วนกิ่งอำเภอ นั้น และฝ่ายสภาจังหวัด ทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติประกอบด้วยสมาชิกสภาจังหวัดที่มา จากการเลือกตั้งของประชาชนในแต่ละอำเภอ ในแต่ละจังหวัดจะมีจำนวนแตกต่างกันไปแล้วแต่ จำนวนของราษฎรของแต่ละจังหวัด สภาจังหวัดจะเลือกสมาชิกสภาจังหวัดคนหนึ่งเป็นประธานสภาจังหวัดและอีกคนหนึ่ง เป็นรองประธานสภาจังหวัดทำหน้าที่นัดประชุมเป็นประธานที่ประชุมและเป็นผู้แทนของสภาจังหวัดในกิจการภายนอกสภาจังหวัดมีหน้าที่ในการตราข้อบัญญัติจังหวัดทั่วไปและข้อบัญญัติงบประมาณ ตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหาร ตั้งขอสอบถามการทำงานของ ส่วนภูมิภาคต่อผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือหัวหน้าราชการส่วนภูมิภาคไปชี้แจงข้อเท็จจริง

องค์การบริหารส่วนจังหวัดตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ. 2498 ได้ให้หัวหน้าส่วนราชการภูมิภาค ตั้งแต่ผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด ผู้ตรวจการส่วนท้องถิ่น เสมียนตราจังหวัด นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ ซึ่งเป็น ข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย เข้าไปเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารขององค์การบริหารส่วนจังหวัดของทุกระดับเป็นการ “สวมหมวก 2 ใบ”   ดำรงตำแหน่งในราชการส่วนภูมิภาค และในราชการส่วนท้องถิ่นในขณะเดียวกัน เพื่อต้องการให้ ข้าราชการที่ส่งมาจากส่วนกลางทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงคอยช่วยเหลื่อให้คำปรึกษาแก่คนท้องถิ่นดูเป็นตัวอย่าง อีกเหตุผลหนึ่งเพื่อประหยัดงบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เพราะไม่ต้องจ่ายเงินเดือนให้กับฝ่ายบริหาร หากมีฝ่ายบริหารที่ต้อง มาจากเลือกตั้ง ทำให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดในยุคนี้มีลักษณะเป็นการปกครองแบบ  “กึ่งท้องถิ่นภูมิภาค” มากกว่า  “การปกครองส่วนท้องถิ่น”

ปัจจุบัน องค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นไปตาม พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 รูปโฉมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดจึงได้เปลี่ยนไป มีลักษณะเป็น การปกครองส่วนท้องถิ่น   ตามหลักการกระจายอำนาจ การปกครองมากขึ้น องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการส่วนท้องถิ่น มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการกิจการภายในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัดก็คือ ในเขตพื้นที่ของจังหวัด ซึ่งรวมทั้งใน เขตสภาตำบล องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล และในกรณีของจังหวัดชลบุรีก็รวมพื้นที่ของเมืองพัทยาด้วย อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติองค์การ บริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงและในพระราชบัญญัติ กำหนด แผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 17 ซึ่งมีทั้งสิ้น 29 ประการที่สำคัญ อาทิเช่น การจัดการศึกษา การส่งเสริมการท่องเที่ยว การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การจัดตั้งและดูแลระบบบำบัดน้ำเสียรวมการกำจัดขยะมูลฝอยและทางน้ำที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นเป็นต้น ซึ่งอำนาจหน้าที่ดังกล่าวเป็นหน้าที่ที่ดำเนินการในภาพรวมทั้งอำเภอหรือทั้งจังหวัด และเกินศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบล หรือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น

สำหรับโครงสร้างขององค์การบริหารส่วนจังหวัดจะแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย ได้แก่ 

  1. ฝ่ายบริหาร มีนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ฉบับที่3) พ.ศ.2546 เป็นผู้บริหารงาน ซึ่งเป็นรูปแบบ the direct election and Strong executive form เหมือนกับโครงสร้างของ กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะทำให้ฝ่ายบริหารขององค์การบริหารส่วนจังหวัดมีความเข้มแข็ง เป็นอิสระในการ กำหนดและการบริหารงานรับผิดชอบต่อประชาชนโดยตรง
  2. ฝ่ายนิติบัญญัติ มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นฝ่ายนิติบัญญัติที่ได้รับเลือกตั้งมาจากประชาชนในแต่ละอำเภอ แต่ละจังหวัดจะมีจำนวนแตกต่างกันตามจำนวนราษฎรของแต่ละจังหวัด โดยมีตั้งแต่ 24,30,36,42 และ 48 คน

การบริหารการคลังขององค์การบริหารส่วนจังหวัด รายได้หลัก จะมาจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีค่าธรรมเนียมรถยนต์และล้อเลื่อน ภาษีบำรุง องค์การบริหารส่วนจังหวัดจากสภาร้านค้าปลีกยาสูบ ภาษีบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัด จากสถานค้าปลีกน้ำมัน ค่าธรรมเนียมผู้พักโรงแรม เงินอุดหนุน จากรัฐบาล เป็นต้น ละการจะนำรายได้ดังกล่าวไปใช้ จ่ายจะต้องจัดเป็นข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรืองบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมการกำกับดูแลองค์การบริหารส่วนจังหวัดก็เหมือนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่ เป็นหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย และผู้ว่าราชการจังหวัด เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้อนุมัติและประกาศใช้ ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย เป็นประธานคณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ก.จ.จ) ซึ่งเป็นองค์กรด้านบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในระดับ จังหวัด สั่งให้สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดออกจากตำแหน่งเนื่องจากขาดคุณสมบัติหรือ มีลักษณะต้องห้ามการเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยคำแนะนำของผู้ว่าราชการจังหวัด มีอำนาจยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ คำสั่งยุบต้องแสดงเหตุผลและกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ เป็นต้น

เดิมองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่านปฏิบัติงานอยู่ ณ อาคารศาลากลางจังหวัดน่าน (ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติน่าน) ในปี พ.ศ. 2511 ย้ายไปอยู่ ณ อาคารสองชั้นด้านหลัง อาคารศาลากลางจังหวัดในปัจจุบัน

พ.ศ. 2534 ได้ดำเนินการก่อสร้างองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่านหลังใหม่ ณ ด้านทิศตะวันตกของอาคารศาลากลางจังหวัดน่าน และย้ายสถานที่ทำงานไปอยู่ ณ อาคารแห่งใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2554

พ.ศ. 2550 องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารสำนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่านแห่งใหม่ ณ บริเวณศูนย์ราชการจังหวัดน่าน เพื่อให้สอดคล้องตามแผนการย้ายอาคารสำนักงานของส่วนราชการต่างๆ ที่ตั้งอยู่ภายในที่กำหนดให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์เมืองเก่าบริเวณใจเมืองน่าน เพื่อให้สามารถรองรับการขยายงานและภารกิจของส่วนราชการภายในองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้อย่างสมบูรณ์ และอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้มาติดต่อมากที่สุด โดยได้ย้ายสถานที่ทำงานไปอยู่ ณ ศูนย์ราชการจังหวัดน่าน ตั้งแต่ 27 ตุลาคม 2554 จนถึงปัจจุบัน

 
 
  ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
  แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
  รายงานการกำกับติดตามการใช้จ่ายงบประมาณ รอบ 6 เดือน
  รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
 ข้อมูลการใช้จ่ายเงินสะสม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566
 ข้อมูลการใช้จ่ายเงินสะสม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567
 รายงานการตรวจสอบการเงินประจำปี
  แผนการจัดซื้อจัดจ้างหรือแผนการจัดหาพัสดุ
  ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
  ผลประกาศการจัดซื้อจัดจ้าง
  สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุรายเดือน
  รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุประจำปี
  ราคากลางจัดซื้อจัดจ้าง
  ประกาศผู้เสนอราคา
  นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
  การดำเนินการตามนโยบายการบริหาร ทรัพยากรบุคคล
  หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
  รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลประจำปี
  มาตรฐานการปฏิบัติงาน
  การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร
  นโยบายไม่รับของขวัญ (no gift policy)
  การติดตามนโยบายไม่รับของขวัญ
  แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต
  ข้อมูลเชิงสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริตประจำปี
   ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริต
 แนวทางการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต
  การประเมินความเสี่ยงการทุจริตประจำปี
  การดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริต
  แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตประจำปี
  รายงานการกำกับติดตามการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปีรอบ 6 เดือน
  รายงานผลการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี
  มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสในหน่วยงาน
  การดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสในหน่วยงาน
  มาตรฐานการให้บริการ
  ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ
  รายงานผลการสำรวจความพึงพอใจการให้บริการ
 การแจ้งไฟฟ้าส่องสว่าง ถนน อบจ.น่าน ผ่านคิวอาร์โค้ด
 การขอรับบริการ E -Service กู้ภัย อบจ.น่าน ผ่าน QRCode
       
 
 
โทรศัพท์ ๐-๕๔๗๑-๖๐๐๐  โทรสาร ๐-๕๔๗๑-๖๓๖๕ E-Mail :   saraban@nanpao.go.th
สงวนลิขสิทธิ์ © โดย MediaCreativeCenter 08-7776-6615
การแสดงผลบนหน้าเว็บไซต์จะสมบูรณ์ที่สุดในระบบ Google Chrome, Mozilla Firefox, Microsoft Internet Explorer 10 ขึ้นไป
หน้าแรก  I   กระดานถาม-ตอบ  I  แผนผังเว็บไซต์  I  ติดต่ออบจ.