ยุทธศาสตร์องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน (STRATEGY OF NANPROVINCIAL ADMINISTRATION ORGANIZATION)
ยุทธศาสตร์เชิงรุก : การสร้างฐานเศรษฐกิจใหม่
ยุทธศาสตร์ที่ 1:
- การธุรกิจการค้าลงทุนระหว่างกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง-ส่งเสริมการค้าการลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้าน(ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า จีน ในรูปแบบ)
-พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับเศรษฐกิจชายแดน การค้าการลงทุน การท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดน่าน บริเวณด่านการค้า ตลาดชายแดนห้วยโก๋น อำเภอเฉลิมพระเกียรติ(ถนนหนทาง ที่ได้มาตรฐาน, ระบบประปาไฟฟ้าครอบคลุมทั่วถึงฯลฯ)
-ผลักดันจังหวัดน่าน ให้เป็นตลาดการค้าระหว่างประเทศที่สำคัญของภูมิภาค เป็นศูนย์รวมแวะพักสินค้าเพื่อการส่งออก(พัฒนาสถานที่แลกเปลี่ยนสินค้า อาคารตลาด อาคารกักเก็บสินค้า สถานที่จอดรถที่ได้มาตรฐาน ฯลฯ)
-ผลักดันจังหวัดน่านให้เป็นตลาดการค้าระหว่างประเทศที่สำคัญของภูมิภาค เป็นศูนย์รวมแวะพักสินค้าเพื่อการส่งออก(พัฒนาสถานที่และเปลี่ยนสินค้า อาคารตลาด อาคารกักเก็บสินค้า สถานที่จอดรถที่ได้มาตรฐาน ฯลฯ)
-พัฒนาระบบขนส่งมวลชนรองรับนักท่องเที่ยวและระบบขนส่งสินค้าทางบกเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อรองรับเศรษฐกิจชายแดนด้านการท่องเที่ยวการลงทุน
-การพัฒนามาตรฐานและการบรรจุผลิตภัณฑ์สินค้าพื้นเมือง(OTOP) เพื่อจำหน่ายภายในประเทศ และส่งออก
ยุทธศาสตร์ที่2:
-การส่งเสริมการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่า
-ส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค้าสินค้า
-ส่งเสริมการเกษตรปลอดสารพิษ
-ส่งเสริมผลผลิตหลักทางการเกษตรการปลูกพืชเศรษฐกิจ ที่มีมูลค่าสูงเพื่อจำหน่ายภายในประเทศและส่งออก
ยุทธศาสตร์การปรับตัว :การเพิ่มมูลค่าฐานเศรษฐกิจเดิม
ยุทธศาสตร์ที่ 3 :
- การพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดน่าน
-ส่งเสริมการท่องเที่ยวตลอดปี
- ส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม แหล่งโบราณสถานโบราณวัตถุ วัดวาอาราม และ งานประเพณีล้านนาต่างๆเชื่อมโยงกับจังหวัดใกล้เคียง
- ส่งเสริมการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เชิงอนุรักษ์เชิงนิเวศน์ เชิงเกษตรกรรม
- จัดตั้งศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยวประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยว สถานที่พักร้านอาหาร
- พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเดิมและกำหนดแหล่งท่องเที่ยวใหม่ให้หลากหลาย
ยุทธศาสตร์ที่ 4 :
- การพัฒนาสังคม การศึกษา และคุณภาพชีวิต ให้จังหวัดน่านเป็นศูนย์การศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมล้านนา
- ส่งเสริมการศึกษาเรียนรู้ของเยาวชนทุกแขนงทุกระบบ
- ส่งเสริมการกีฬา การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ สถานที่พักผ่อนหย่อนใจส่วนหย่อม และกิจกรรมนันทนาการ
- ส่งเสริมให้ประชาชนมีวิถีชีวิตอย่างสันติสุขปรับใช้ชีวิตสมัยใหม่ให้สอดคล้องกับประเพณี วัฒนธรรม ค่านิยมดั้งเดิมที่ดีอย่างยั่งยืน
- ส่งเคราะห์แก่ผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการทุพพลภาพและส่งเสริมอาชีพและให้ความรู้แก่บุคคลเหล่านี้ตามความเหมาะสม
ยุทธศาสตร์ที่5 :
- การอุตสาหกรรมพื้นบ้าน และภูมิปัญญาท้องถิ่น
- พัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน ผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น
- ส่งเสริมอาชีพสร้างเครือข่ายขยายไปสู่วิสาหกิจชุมชน
- พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตการแปรรูปผลิตภัณฑ์ OTOP พัฒนาให้ได้มาตรฐานสู่สากล
- จัดตั้งศูนย์รวมสินค้าทางหัตถกรรมสินค้าพื้นเมืองที่มีคุณภาพ และศูนย์บรรจุผลิตภัณฑ์สินค้าOTOP
ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืน :สนับสนุนฐานเศรษฐกิจเดิมและเศรษฐกิจใหม่ ยุทธศาสตร์ที่ 6 :
- ท้องถิ่นน่านน่าอยู่
- อนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสานและเผยแพร่ประเพณีวัฒนธรรมล้านนาให้คงอยู่ยืนนาน
- อนุรักษ์และบริหารจัดการทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของจังหวัดมิให้เกิดสภาวะมลพิษทั้งในปัจจุบันและอนาคต
- สนับสนุนการวางผังเมืองรวมที่เหมาะสมการปรับปรุง ภูมิทัศน์เมืองน่านให้สวยงาม เป็นเมืองที่น่าท่องเที่ยวและผักผ่อนตลอดจนเป็นเมืองที่น่าอยู่อาศัยตลอดไป
ยุทธศาสตร์ที่ 7 :
- ชุมชนเข้มแข็ง
- ส่งเสริมบทบาทของผู้นำชุมชน ผู้นำสตรีและผู้นำเยาวชนให้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพของตนในการสร้างสังคมและชุมชนของตนทั้งชุมชนเมืองและชนบทให้เกิดความเข้มแข็งในทุกด้าน
- สร้างความมั่นคงปลอดภัยให้กับประชาชนทั้งในพื้นที่ปกติและพื้นที่ชายแดนด้วยการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้เกิดความพึงพอใจในวิถีชีวิตปัจจุบัน
- แก้ไขปัญหาความยากจนส่งเสริมเกษตรกรรมแบบทางเลือกตามแนวทางระบบเศรษฐกิจชุมชนแบบพอเพียงและเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
- สนับสนุนแนวทางการป้องกัน ปราบปรามยาเสพติดการบำบัดฟื้นฟูเยียวยาผู้ติดยาเสพติด การพัฒนาอาชีพสำหรับ ผู้ที่ผ่านการบำบัดยาเสพติด และส่งเสริมบทบาทของชุมชนในการปฏิบัติตามนโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ของรัฐบาล
- ดำเนินงานและสนับสนุนงานการบรรเทาสาธารณภัยให้มีประสิทธิภาพและพัฒนาศักยภาพที่จะรองรับการ เกิดภัยพิบัติต่างๆรวมถึงการส่งเคราะห์ผู้ประสบภัยจากภัยพิบัติต่างๆ ด้วย |